Category: ไม่มีหมวดหมู่

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ออกโรงค้าน…!!! พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. …

วันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯ ออกแถลงการณ์ค้าน…!!! พ.ร.บ. การขนส่งทางราง พ.ศ. …ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. … เมื่อ ๐๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา โดยมีความคิดเห็นดังนี้ …. ให้อำนาจเกินกว่าการกำกับดูแลนโยบาย มีเนื้อหาแอบแฝงทำลายกิจการขนส่งสาธารณะเพื่อประชาชน ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม 256๗ มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ….…

หน่วยลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการบริหาร สร.รฟท.ชุดที่ ๘ ( ๒๕๖๗ – ๒๕๗๐ ) ประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๗

หน่วยลงคะแนนเลือกตั้ง คณะกรรมการบริหาร สร.รฟท.ชุดที่ ๘ ( ๒๕๖๗ – ๒๕๗๐ ) ประจำวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๗

กิจกรรมวันงานที่มีคุณค่าสากล

สหภาพรถไฟฯ ร่วมกิจกรรม “วันงานที่มีคุณค่าสากล” รณรงค์ให้เกิดการจ้างงานต้องมั่นคงและเป็นธรรม สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งปรพเทศไทย (สร.รฟท.) เข้าร่วมกับขบวน สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จัดงานรณรงค์ “วันงานที่มีคุณค่าสากล หรือ Decent Work Day” เพื่อให้เกิดการจ้างงานที่มั่นคงและเป็นธรรม ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม โดยเดินขบวนจาก อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปยัง องค์การสหประชาชาติ (UN) ในวันนี้ ( 7 ต.ค. ) สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย ( สสรท.…

สรุปการหารือระหว่าง เรื่อง การเบิกจ่ายเงินสวัสดิการผ่านระบบ HRIS

อย่างไรก็ตามการจัดเก็บข้อมูล เรื่องของการชำระเงินสวัสดิการผ่านระบบ HRIS ยังไงก็ตามการร่วมกันระหว่าง สร.รฟท. และฝ่ายทรัพยากรบุคคล เรื่องการชำระเงินจ่ายเงินสวัสดิการผ่านระบบ HRIS 21 สิงหาคม 2566 1. ตรวจสอบกับฝ่ายทรัพยากรส่วนต่างๆ ของการอบรมกับผู้ควบคุมดูแลในส่วนควบคุมและส่วนการเลี้ยงภูมิภาคเพื่อให้เข้าใจในวิธีปฏิบัติในการรับเบี้ยเบี้ยประกันภัยต่างๆ การสื่อสารกับผู้สังเกตการณ์อื่นๆ ได้ตัวควบคุม ค้นหาข้อมูลในการหาข้อมูลให้เข้าใจง่าย (ไม่แตกต่างจากรูปแบบเก่าหรือง่ายกว่าเดิม) สะดวกในการลงข้อมูลและตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ 2.ให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล กำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน ในการตรวจสอบ และการโอนเงินเข้าบัญชีของผู้ปฏิบัติงานภายในระยะเวลากี่วัน และ สร.รฟท.มีข้อเสนอให้กระบวนการในการตรวจสอบเบี้ยเลี้ยงต่างๆ การรับรองความถูกต้องในการเบิก ให้เป็นหน้าที่ของต้นสังกัดในการตรวจสอบความ รับรองความถูกต้อง เพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลาดำเนินการ…

กิจกรรม “คิดถึงตุ๊กตา”

งานรำลึกครบรอบ 30 ปีเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ เมื่อ 10 พฤษภาคม 2536 จนทำให้มีคนงานเสียชีวิต 188 ศพ บาดเจ็บ พิการ จำนวนมาก เป็นที่มาของขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวปลักดันให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น”วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ”และขบวนการแรงงานเข้าชื่อกัน 50,000 กว่ารายชื่อ เรียกร้องให้รัฐบาลตรากฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย หลังจากนั้น 18 ปี ต่อมาปี 2554 รัฐบาลจึงยอมออก “พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ” ชีวิตคนงานต้องไม่สูญเปล่า…

เครือข่ายเอเชียเพื่อสิทธิผู้ป่วยจากการทำงาน บุกสถานฑูตเกาหลีเรียกร้องสิทธิแทนผู้เสียชีวิต

โศกนาฎกรรมแก๊สบริษัท LG รั่วในหมู่บ้านไวแสก ประเทศอินเดีย ในวันที่ 8พฤษภาคม 2566 ทางสมาพันธุ์สมานฉันแรงแรงงานไทยและเครือข่ายเอเซียสิทธิผู้ป่วยและการทำงานและสิ่งแวดล้อม ได้ยื่นหนังสือข้อเรียกร้องสิทธิจากเหตุบริษัท LGแก๊สรั่วที่ จากกรณีโศกนาฏกรรมก๊าซเมธิ ไฮโซไซยาเนตรั่วไหลอย่างเช้าตรู่ของวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ 2527 ของโรงงานผลิตยาฆ่าแมลงใน เมืองโคปาลรัฐมัธยมประเทศ ประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นภัยพิบัติทางอุตสาหกรรมที่เลวร้ายที่สุดของโลกขอผลกระทบต่อประชาชนกว่า 5 แสนคนที่สูดดมก๊าซเมทินไฮโซไชยาเนตเข้าไปและมีผู้เสียชีวิตทันที 2,559 คน และคำให้การของรัฐบาลปี 2549 ระบุว่าการรั่วไหลทำให้มีผู้บาดเจ็บทั้งหมด 588,125 ราย และมีผู้เจ็บถึงขั้นพิการรุน…

สหภาพรถไฟฯ เร่งหาข้อยุติ จากการรถไฟ

ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีนโยบายแผนการดำเนินการกำหนดเปิดให้บริการขบวนรถไฟเชิงพาณิชย์ (รถไฟทางไกล) ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2566เป็นต้นไป สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของพี่น้องประชาชนที่ใช้บริการรถไฟบริเวณสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2565 และวันที่ 3 มกราคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเทศกาลที่ประชาชนใช้บริการเดินทางโดยรถไฟเป็นจำนวนมาก โดยได้รับฟังเสียงสะท้อนผลกระทบความเดือดร้อนของผู้โดยสาร ที่ไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางหากการรถไฟจะย้ายขบวนรถทางไกลทั้งหมดออกมาที่สถานีกลางบางซื่อ และมีข้อเสนอแนะให้การรถไฟฯทบทวนยกเลิกการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนประชาชนที่ใช้บริการ

ประธานสหภาพรถไฟฯ ลงพื้นที่เอง

จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ความคิดเห็นของประชาชนผู้โดยสารเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.2565 กรณีการรถไฟฯนโยบายย้ายขบวนรถเชิงพาณิชย์ 52 ขบวนไปออกต้นทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ในวันที่ 19 มกราคม 2566 พร้อมตั้งคำถามกับผู้รับผิดชอบ ดังนี้ 1.ผู้โดยสารส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลในเรื่องการย้ายขบวนเชิงพาณิชย์ไปออกต้นทางที่สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ บางส่วนที่ทราบก็ได้ข้อมูลจากทีวี/สื่อออนไลน์ แต่ไม่รู้ว่าขบวนรถเชิงพาณิชย์มีขบวนอะไรบ้าง 2.ผู้โดยสารส่วนใหญ่ที่มาขึ้นรถที่หัวลำโพง(ขอสถิติจากฝ่ายบริการโดยสาร)ให้ข้อมูลตรงกันว่าไม่เห็นด้วยกับการย้ายขบวนรถทางไกลไปออกที่บางซื่อ เพราะไม่สะดวกในการเดินทาง โดยเฉพาะผู้โดยสารที่มีสัมภาระ ไม่รู้ว่าจะเดินทางอย่างไร ที่สำคัญคือเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นทั้งไปและกลับ หากเลือกได้ขอให้มีขบวนรถให้บริการที่หัวลำโพงเหมือนเดิม และมีความกังวลหากลงที่สถานีบางซื่อ แล้วต่อรถไฟใต้ดิน จะใช้บริการได้หรือไม่เนื่องจากมีกระเป๋าเดินทางและสัมภาระอื่นๆ 3.การเดินทางของผู้โดยสารที่มาที่สถานีหัวลำโพง เนื่องจากเดินทางสะดวก มีรถสาธารณะให้เลือกใช้บริการหลากหลาย ประหยัดค่าใช้จ่าย หากย้ายไปที่บางซื่อ…

You missed