Category: ข่าวกิจกรรม

สหภาพรถไฟฯเคลื่อนร่วมกับ สรส.ปกป้องรัฐวิสาหกิจเพื่อชาติและประชาชน

ดาวน์โหลดหนังสือ ที่ สรส. 369/2567 ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2567 เรื่อง ขอให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ ถึงนายกรัฐมนตรี (นางสาวแพทองธาร ชินวัตร) ได้ที่นี่ วันที่26 พฤศจิกายน 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯนำโดยนายสราวุธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพฯพร้อมกับคณะกรรมการบริหาร/อนุกรรมการ/สมาชิกตลอดถึงครอบครัวคนรถไฟ เข้าร่วมกิจกรรม“ร่วมปกป้องรัฐวิสาหกิจเพิ่อชาติและประชาชน” จัดโดยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) โดยมีองค์กรสมาชิกของ สรส ได้เสนอประเด็นปัญหาและขอเสนอให้รัฐบาลยกเลิกนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทุกรูปแบบ กิจกรรมเริ่มเวลา 08.30 น. สรส.นัดองค์กรสมาชิกรวมพลกันที่หน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติ UN…

10 เหตุผล …!!! ทำไมต้องคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ..”

10 เหตุผล …!!! ทำไมต้องคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ..” 🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้ กระบวนการในการร่างกฎหมายไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 โดยก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับ ฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน โดยที่ผ่านมากระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องไม่ได้เกิดขึ้นจริงอย่างรอบด้านและเหมาะสม 🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีเนื้อหา กำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมการขนส่งทางรางโดยอธิบดี เข้ามาจัดทำนโยบาย/ทำแผนข้อมูลในการบริหารจัดการ การทำแผนพัฒนากิจการจัดการทรัพย์สินที่ดินสองข้างทางรถไฟ พื้นที่รอบสถานีรถไฟ ซึ่งมีหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของการรถไฟฯตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง…

สหภาพรถไฟฯยื่นหนังสือถึง รฟท.เรื่อง ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการตามสัญญาจ้างขนรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯนำโดยนายสราวูธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นหนังสือต่อการรถไฟเรื่อง ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการตามสัญญาจ้างขนรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่นโดยผู้ว่าการรถไฟมอบหมายให้นางสาวชุติมา วงศืศิวะวิลาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน เป็นผู้แทนในการรุบหนังสือ ซึงรายละเอียดดังนี้ ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ตกลงว่าจ้างบริษัท กรีน เจเนอเรชั่น เวิลด์ไวด์ จำกัด ขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น…

สหภาพรถไฟฯยื่นหนังสือถึงการรถไฟเรื่อง เสนอให้การรถไฟฯอุทธรณ์ต่อศาลปกครองโดยเร่งด่วน กตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำวินิจฉัยไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งออกทับที่ดินของการรถไฟฯ

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย นำโดยนายสราวุธ สราญวงศ์ได้ยื่นหนังสือถึงการรถไฟฯเรื่อง เสนอให้การรถไฟฯอุทธรณ์ต่อศาลปกครองโดยเร่งด่วน กรณีมติของคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน มีคำวินิจฉัยไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินซึ่งออกทับที่ดินของการรถไฟฯ โดยผู้วาการรถไฟมอบหมายให้นางสาวชุติมา วงศืศิวะวิลาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน เป็นผู้แทนในการรุบหนังสือ ซึงรายละเอียดดังนี้ ตามที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2494/2564 คดีหมายเลขแดงที่ 582/2566 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 พิพากษาให้อธิบดีกรมที่ดินดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา 61 วรรค 2 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน…

สหภาพรถไฟฯ ร่วมน้อมสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระปิยะมหาราช ปกป้องการรถไฟฯ คัดต้าน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง….

วันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ สหภาพรถไฟฯ ทำกิจกรรมน้อมสืบสานพระราชปณิธานแห่งพระปิยะมหาราช ปกป้องการรถไฟฯ คัดต้าน พ.ร.บ.การขนส่งทางราง…. ณ บริเวณ จุด ตอกหมุด ตรึงราง ( 26 มีนาคม 2439) และสหภาพฯได้ประกาศเจตนารมย์โดยนายสราวุธ สราญวงศ์ ประธาน สร.รฟท. ดังนี้ ประกาศสืบทอดพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ พระปิยมหาราช พระบิดาผู้ทรงสถาปนากิจการรถไฟไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่…

51 ปี งานรำลึก 14 ตุลา

วันที่ 14 ตุลาคม 2567 ผู้แทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) ร่วมวางพวงมาลาเนื่องในโอกาศครบรอบ 51 ปี งานรำลึก 14 ตุลา ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกคอกวัว ซึ่งเหตุการณ์ 14 ตุลา (พ.ศ. 2516) หรือ วันมหาวิปโยคการปราบปรามผู้ประท้วงบริเวณพระบรมมหาราชวังและถนนราชดำเนินอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม…

วันงานที่มีคุณค่าสากล 2567 (World Day for Decent Work 2024)

วันที่ 7 ตุลาคม 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมวันงานที่มีคุณค่าสากล 2567 (World Day for Decent Work 2024) จัดโดยสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย (สสรท.) หลักการความเป็นมาของวันวันงานที่มีคุณค่าสากล 2567 (World Day for Decent Work 2024) วันที่ ๗ ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันงานที่มีคุณค่าสากล”…

“รำลึก 15 ปี เขาเต่า ถอดบทเรียนการต่อสู้เพื่อความปลอดภัย”

วันที่ 5 ตุลาคม 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดงาน “รำลึก 15 ปี เขาเต่า ถอดบทเรียนการต่อสู้เพื่อความปลอดภัย” ณ ลานอเนกประสงค์ นิคมรถไฟ กม.11 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม หลักการและเหตุผล เนื่องจากเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เกิดเหตุการณ์ขบวนด่วนที่ ๘๔ ตกรางที่สถานีเขาเต่า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ๗ รายและผู้บาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และทำให้ทรัพย์สินของการรถไฟฯได้รับความเสียหาย…

สหภาพฯยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ขอเข้าพบพร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังพนักงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของการรถไฟฯ

23 กันยายน 2567 ณ ตึกบัญชาการรถไฟ คณะกรรมการบริหารสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคสาขาทั่วประเทศ ได้ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) ขอเข้าพบพร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอัตรากำลังพนักงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยมีข้อเสนอดังนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๑ เห็นชอบมาตรการแก้ปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ถือปฏิบัติตามมาตรการ ข้อสังเกต และตามความเห็นกระทรวงการคลัง ความเห็นตามมติคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจโดยเคร่งครัด ซึ่งมีมาตรการลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร ให้มีอัตรากำลังภายในกรอบที่กำหนด โดยภายในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ จะมีพนักงานไม่เกิน ๑๘,๐๑๕ คน…

เขากระโดง…คดีมหากาพย์

มหากาพย์ “เขากระโดง”เปิดประเด็นกับสหภาพรถไฟฯ 🔻ถ้าจะกล่าวถึงกรณีข้อพิพาท เรื่องที่ดินอีกหนึ่ง “คดีมหากาพย์” คงต้องมีชื่อพื้นที่เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ เป็นรายชื่อแรก ๆ และอีกประการที่ทำให้พื้นที่เขากระโดงน่าสนใจเป็นพิเศษ ก็คงเพราะเป็นคดีใหญ่คดีแรก ๆ ที่หน่วยงานของรัฐโดยการรถไฟฯ ที่เป็นฝ่ายชนะแบบปิดทุกประตู ⛔ สิทธิ์ของการรถไฟที่ได้มาโดยชอบ 🔻แต่กว่ากระบวนการจะดำเนินมาถึงปัจจุบันที่ทางคณะทำงานของการรถไฟฯและสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯได้ลงสำรวจพื้นที่ดำเนินการจัดทำรังวัดที่ดิน และกำหนดแนวเขตที่ดินของ รฟท. ในบริเวณเขากระโดง ก็กินเวลากว่า 73 ปี ตั้งแต่เริ่มถือครองกรรมสิทธิ์ตามประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวง พ.ศ 2462 🔻ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 เพื่อจัดตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยขึ้น และตามที่มีการบัญญัติในมาตรา