8 มีมาคม คือ “วันสตรีสากล” ทุกๆปีจะเห็นได้ว่าวันนี้ของทุกๆปี จะมีบรรดาผู้หญิงในหลายประเทศรวมตัวกันเพื่อร่วมฉลอง และร่วมรำลึกการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้หญิง อย่างไรก็ตามในหลายประเทศให้ความสำคัญของวันสตรีสากล วันนี้ทีมงาน SRUT News จะพาทุกคนไปรู้จักกับ “วันสตรีสากล” ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร
จุดเริ่มต้น การต่อสู้เพื่อเสรีภาพต่อสตรีทั้งโลก จาก “คารา เซทคิน” สตรีผู้ปลดปล่อยพันธนาการผู้หญิงให้หลุดพ้นจากการกดขี่
เกิดเมื่อ 5 กรกฎาคม 1857 บิดาของเซทคินเป็นครู ส่วนมารดาเป็นคนที่ได้รับการศึกษาสูง จึงพยายามฝึกฝนและหล่อหลอมบุตรสาวให้เติบโตมาเป็นครูในอนาคต และในปี (1870-1871) ระบบทุนนิยมก็ขยายตัวในเยอรมนีมากขึ้น ผู้คนเริ่มหลั่งไหลเข้าไปทำงานในเมือง เซทคินได้เข้าเรียนใน ร.ร. ฝึกหัดครู และเธอได้เห็นการเอารัดเอาเปรียบผู้ใช้แรงงาน เรียนรู้และเข้าใจปัญหาสังคมมากขึ้น จนตกผลึกทางความคิดและมองเห็นว่าลัทธิสังคมนิยม คือ ทางออกของการแก้ไขปัญหาความอดอยากยากแค้นของคนจน
ในปี 1878 เซทคินเข้าเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ทำให้เธอยิ่งได้เข้าไปมีส่วนร่วมพูดคุย ประชุม และชุมนุมกับกรรมกรมากขึ้น
สมัยก่อนกรรมกรจะต้องทำงานถึงวันละ 16-17 ชม. ไม่มีวันหยุด ไม่มีสวัสดิการใดๆ หากกรรมกรหญิงตั้งครรภ์ก็จะถูกไล่ออก
ในโรงงานมีแสงสว่างไม่เพียงพอ เต็มไปด้วยฝุ่นละออง กลิ่นน้ำมันเครื่อง มีความสกปรกต่างๆ ทำงานไม่นาน คนงานก็มักจะกลายเป็นคนหลังค่อม ตามัว วัณโรค, ไหนจะมีการกดขี่ ขูดรีดจากบรรดานายทุนอย่างยาวนาน
การลุกขึ้นสู้ครั้งใหญ่ของกรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้ารัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา จึงเกิดขึ้นในวันที่ 8 มีนาคม 1857 โดยมีการเรียกร้องให้นายจ้างเพิ่มค่าแรง ลดเวลาทำงาน และสวัสดิการต่างๆ แต่สุดท้ายสิ่งที่ได้คือ การลอบวางเพลิงในสถานที่ชุมนุม จนทำให้กรรมกรหญิงเสียชีวิตไปถึง 119 คน
ขอบคุณข้อมูลจาก >>> SALIKA
การต่อสู้ของขบวนการเเรงงานในประเทศไทย เพื่อ สิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมต่อ “สตรี”
ในอดีตหากพูดถึงองค์กรที่ทำงานด้านสตรีในประเทศไทย ก็คงมีมากจนนับไม่ถ้วน แต่กับตรงกันข้าม คุณภาพและความเป็นอยู่ของคนแรงงาน โดยเฉพาะผู้หญิง ยังมีความยากลำบากในทุกด้าน ถึงตรงนี้หลายคนคงตั้งคำถาม ว่าทำไมปัญหาถึงมีมากมาย แต่สำหรับเรา อยากตั้งคำถามนี้ว่า ปัญหาเหล่านั้นไม่เคยถูกแก้ไข หรือ มีคนที่ถูกละเมิดสิทธิมากขึ้น กันแน่
แต่ก็ยังมีกระบวนที่ออกมาเป็นหัวหอกขับเคลื่อน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนงานทั้งประเทศ หากกล่าวแบบนี้ก็คงมีไม่กี่องค์ หนึ่งในนั้นก็คงหนีไม่พ้น สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่ดูแลมาตราฐานความปลอดภัยในการทำงานและความมั่นคงในชีวติของคนรัฐวิสาหกิจ และอีกองค์ที่คงไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ที่เป็นฟากฝั่งที่เป็นปากเป็นเสียงให้กับพี่น้องแรงงานภาคเอกชน
และในปีนี้ กิจกรรมงานรำลึก การเสียสละและความกล้าหาญของ คารา เซทคิน ทางคณะกรรมการสนามฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ได้จัดกิจกรรมเชิงสัญญลักษณ์ ขึ้น จะมีการเดินรณรงค์ จากบริเวณ อนุเสาวรีประชาธิปไตย ไปจนถึง ประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นข้อร้องเรียกในการแก้ไขสภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องคนงาน โดยมีประเด็นข้อเรียกร้องดังนี้
ข้อเรียกร้องวันสตรีสากล 2565
1. รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิความเป็นมารดา
2. รัฐต้องกำหนดให้ผู้หญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 180 วัน และให้ผู้ชายลาไปดูแลภรรยาคลอดบุตรได้ 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างตามที่จ่ายจริง 100% และให้เร่งรัดการจ่ายค่าจ้างวันลาคลอด 98 วันตามมติ ครม ที่เห็นชอบ ให้ครบถ้วน
3. รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการล่วงละเมิดในโลกแห่งการทำงานโดยเฉพาะการเลิกจ้างหญิงตั้งครรภ์และการล่วงละเมิดทางเพศให้เป็นคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้
4. รัฐต้องรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 189 ว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับลูกจ้างทำงานบ้านและ อนุสัญญา ILO ฉบับที่ 177 ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน เพื่อให้แรงงาน ได้รับการคุ้มครองอย่างเคร่งครัดและเป็นธรรม
5. รัฐต้องกำหนดมาตรการเพื่อขจัดการละเมิดสิทธิแรงงานทุกรูปแบบ รวมถึงหามาตรการ ปกป้อง คุ้มครอง และเยียวยา เพื่อสร้างความมั่นคงในการทำงานและเข้าถึงสิทธิสวัสดิการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมให้เป็นไปตามหลักการการดำเนินธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน(UNGP) ที่รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบัน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ
6. รัฐต้องให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปีเดือนละ 600 บาท
7. รัฐต้องกำหนดสัดส่วนผู้หญิง ชาย และเพศสภาพ ในการตัดสินใจของคณะกรรมการทุกมิติ ทุกระดับ อย่างน้อย 1 ใน 3 เพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม
8. รัฐต้องกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันหยุดตามประเพณี
9. รัฐต้องจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ ให้เป็นไปตามหลักการองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ให้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์