วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟฯนำโดยนายสราวูธ สราญวงศ์ ประธานสหภาพฯ เข้ายื่นหนังสือต่อการรถไฟเรื่อง ขอให้ตรวจสอบการดำเนินการตามสัญญาจ้างขนรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่นโดยผู้ว่าการรถไฟมอบหมายให้นางสาวชุติมา วงศืศิวะวิลาศ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการพัฒนาที่ดิน เป็นผู้แทนในการรุบหนังสือ ซึงรายละเอียดดังนี้
ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ตกลงว่าจ้างบริษัท กรีน เจเนอเรชั่น เวิลด์ไวด์ จำกัด ขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทย ที่สถานีรถไฟแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งมีข้อกำหนดเงื่อนไขและสัญญาเป็นไปตามสัญญาเลขที่ พด.๐๑๒/๒๕๖๖ ลงวันที่ ๑๕ มกราคม 256๗ รวมราคาค่าจ้างจำนวน ๔๘,๖๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ซึ่งรายละเอียดของขอบเขตของงานตามเอกสารข้อกำหนดรายละเอียดของงาน (Term of Reference : TOR) ได้กำหนดให้ผู้รับจ้างปฏิบัติตาม โดยกำหนดงวดงาน และงวดการจ่ายเงินค่าจ้างออกเป็น ๓ งวด นั้น (ตามอ้างถึง ๑)
ตามที่ปรากฎเป็นข่าวตามสื่อมวลชน และข้อเท็จจริงปรากฎว่ามีการขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่น มายังประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 2 มิ.ย.67 ปัจจุบันขบวนรถทั้งหมด ยังจอดอยู่ที่ย่านสถานีรถไฟแหลมฉบัง จ.ชลบุรี แต่พบว่าการดำเนินการขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศทั้ง ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้ดำเนินการตามที่ TOR ได้กำหนดไว้ ตามสัญญางานงวดที่ ๑ และงวดที่ ๒ ขณะที่สัญญางานงวดที่ 3 ครบกำหนดไปแล้วเมื่อต้นเดือน ก.ย. 2567 และมีค่าปรับเกิดขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีประเด็นที่เอกชนขอแก้ไขสัญญาในรายละเอียดการขนย้ายหลังที่ได้ดำเนินการขนย้ายไปแล้ว โดยมีการทำสัญญาแนบท้าย ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2567 ขณะที่สัญญางานงวดที่ 3 ครบกำหนดไปแล้วเมื่อต้นเดือน กันยายน 2567และมีค่าปรับเกิดขึ้น พร้อมกันนี้ยังมีประเด็นที่เอกชนขอแก้ไขสัญญาในรายละเอียดการขนย้ายหลังที่ได้ดำเนินการขนย้ายไปแล้ว โดยมีการทำบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างขนรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม 256๗ (ตามอ้างถึง ๒) สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย (สร.รฟท.) มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ มาตรา ๔๐ (๔) ให้ความร่วมมือในการสร้างประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ จากข้อมูลที่เป็นปรากฎข่าวตามสื่อสาธารณะในกรณีดังกล่าว สร.รฟท.เห็นว่าผู้รับจ้างไม่ได้ดำเนินการขนย้ายให้เป็นไปตามสัญญาว่าจ้าง และคณะกรรมการตรวจรับพัสดุในงานจ้าง ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปตามสัญญาจ้าง พร้อมกับมีการเสนอขอแก้ไขเอกสารบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้างขนย้ายรถดีเซลรางปรับอากาศรุ่น kiha ๔๐ และ kiha ๔๘ จำนวน ๒๐ คัน จากประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาเลขที่ พด.๐๑2/2566 ลงวันที่ 15 มกราคม ๒๕๖๗ โดยการพิจารณาบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายสัญญาจ้าง ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม 256๗ ซึ่งอาจจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้รับจ้าง หรือส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชั่น อันจะทำให้การรถไฟฯเกิดความเสียหายได้
ดังนั้น สร.รฟท.จึงขอให้ผู้ว่าการรถไฟฯ สั่งการให้มีการตรวจสอบการดำเนินการของผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวโดยด่วน และหากผู้เกี่ยวข้องในการแก้ไขสัญญาในรายละเอียดการขนย้ายฯดำเนินการเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้รับจ้าง ขอเสนอให้การรถไฟฯแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ที่ สร.รฟท. มีส่วนร่วมตามระเบียบของการรถไฟฯต่อไป