ส มุ ด ป ก ด ำ ท ำ ไ ม !!! ต้ อ ง คั ด ค้ า น “ร่าง พ.ร.บ.ก า ร ข น ส่ ง ท า ง ร า ง

ดาวน์โหลด ” ส มุ ด ป ก ด ำ ” ได้ที่นี่

          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้ กระบวนการในการร่างกฎหมายไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 โดยก่อนการตรากฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับ ฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน โดยที่ผ่านมากระบวนการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องไม่ได้เกิดขึ้นจริงอย่างรอบด้านและเหมาะสม
          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีเนื้อหา กำหนดอำนาจหน้าที่ให้กรมการขนส่งทางรางโดยอธิบดี เข้ามาจัดทำนโยบาย/ทำแผนข้อมูลในการบริหารจัดการ การทำแผนพัฒนากิจการจัดการทรัพย์สินที่ดินสองข้างทางรถไฟ พื้นที่รอบสถานีรถไฟ ซึ่งมีหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของการรถไฟฯตามพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ. 2464 และไม่ใช่หน้าที่หลักในการกำกับดูแลนโยบาย และมาตรฐานต่างๆ
          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีเนื้อหา มีเจตนาในการนำที่ดินไปให้นายทุนเอกชนแสวงหาประโยชน์ในกรรมสิทธิที่ดินของการรถไฟฯ ซึ่งขัดแย้งกับพระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง พ.ศ. 2464 มาตรา ๖ (๒) ห้ามมิให้เอกชนหรือบริษัทใดๆหวงห้ามหรือถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินรถไฟ หรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เว้นไว้แต่จะได้มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเป็นพิเศษว่าทรัพย์สินนั้นๆได้ขาดจากเป็นที่ดินรถไฟแล้ว ซึ่งการออกร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เท่ากับเป็นการออกมาเพื่อที่เปลี่ยนเจตนารมณ์ในการใช้ที่ดินของการรถไฟฯเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน ไปเป็นประโยชน์ของนายทุน พวกพ้องนักการเมือง
         🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีเนื้อหา ให้อำนาจรัฐมนตรีที่มีหน้าที่ออกหลักเกณฑ์ในกฎกระทรวงเพิ่มเติมภายหลัง ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายขนส่งทางราง ซึ่งมีที่มาส่วนใหญ่จากฝ่ายการเมือง ที่มีนโยบายเปิดทางให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทนการรถไฟฯ ซึ่งกฎกระทรวงที่จะออกมาภายหลังอาจทำให้มีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนมาแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่ดินของการรถไฟฯ
          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีเนื้อหา กำหนดให้การอนุญาตเชื่อมต่อรางเพื่อการขนส่งร่วมกัน ต้องขอได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีก่อน และการจัดสรรความจุ ตารางการเดินรถ และเส้นทาง ต้องขออนุญาตคณะกรรมการจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางราง ทั้งที่เดิมเป็นอำนาจบริหารของการรถไฟฯ การรถไฟฯถูกจำกัดบทบาทในการจัดการการเชื่อมต่อระบบราง รวมถึงสิทธิในการจัดสรรเวลาเดินรถจะถูกแยกออกไป อนาคตจะเกิดปัญหาการเลือกปฏิบัติ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งเคยมีปัญหาเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
         🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีเนื้อหา การกำหนดอำนาจการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ มีโครงสร้างไปทับซ้อนกับข้อบังคับ ระเบียบ การดำเนินการสอบสวนของการรถไฟฯ และเพิ่มเงื่อนไขในเรื่องของเรื่อง “อุบัติการณ์”ที่มีความหมายกว้างมาก มีผู้ตรวจการขนส่งทางราง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติด้านนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาการปฏิบัติงานตามสายการบังคับบัญชา กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และการปฏิบัติตามร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้
          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีเนื้อหา ในหมวดผู้ประจำหน้าที่ โดยเฉพาะ “พนักงานขับรถขนส่งทางราง (พขร.) พนักงานควบคุมรถขนส่งทางราง” ที่จะต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประจำหน้าที่จากอธิบดีก่อนจึงจะทำหน้าที่ได้ (แล้วที่ผ่านมาหมายความว่า พขร.ของการรถไฟฯ ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตใช่หรือไม่) และอาจจะมีเงื่อนไขเพิ่มเติมในกฎกระทรวงในอนาคต ที่จะทำให้การทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมซับซ้อนมากขึ้น ใบอนุญาตมีระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี เมื่อจะต่อใบอนุญาตจะต้องผ่านเงื่อนไขคุณสมบัติที่กำหนดไว้ กระบวนการตรวจสอบการรายงานชี้แจงเหตุหลายขั้นตอน ซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จนอาจนำไปสู่ความผิดพลาดและถูกลงโทษเพิ่มมากขึ้น
          🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีเนื้อหา ในหมวดของบทกำหนดโทษซึ่งมีทั้งโทษทางปกครอง โทษทางอาญาสำหรับผู้รับใบอนุญาตและผู้ประจำหน้าที่ (พขร.) ต่อไปผู้ประจำหน้าที่ หากปฏิบัติงานผิดพลาดจากความพาดพลั้ง นอกจากจะถูกลงโทษทางวินัย/ความรับผิดทางละเมิดแล้ว ยังมีเพิ่มเติมในโทษทางปกครอง(โทษปรับไม่เกินสี่แสน) และโทษทางอาญา(จำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ) มาอีกด้วย
         🔴 ร่าง พ.ร.บ.ฯฉบับนี้มีเนื้อหา ในบทเฉพาะกาล โดยเฉพาะมาตรา 160 เขียนไว้อย่างแยบยลในเรื่องของ “บรรดาอำนาจ และสิทธิของการรถไฟฯ” ที่บอกว่ายังคงมีอยู่ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้ง กับร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ หมายความว่าอย่างไร ??? คือการนำไปสู่การยกเลิก พระราชบัญญัติจัดวางการรถไฟแลทางหลวง 2464 และ พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ใช่หรือไม่ และมาตรา 161 ที่บอกว่าภายใน 120 วันให้รัฐมนตรีออกใบอนุญาตให้การรถไฟ(การรถไฟฯไม่ต้องขอ) เหมือนดูดี แต่ความหมายคือ การรถไฟฯไม่ได้มีอำนาจการบริหารจัดการตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 อีกต่อไป …..แล้วอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป….
          🔴สุดท้ายร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้มีเนื้อหา ในการลดบทบาทของการรถไฟฯที่ได้รับอนุญาตโดยมีพระบรมราชโองการตามพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ให้ดำเนินกิจการรถไฟหลวง รถไฟแผ่นดิน เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และพัฒนามาสู่การเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่อนุญาตให้ประกอบกิจการรถไฟโดยพระราชบัญญัติการรถไฟฯ พ.ศ.2494 แต่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้จะลดบทบาทให้เป็นเพียงผู้ประกอบกิจการรายหนึ่ง ที่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการจากรัฐมนตรี ถือเป็นการ “ทำลายพระราชปณิธานตามพระบรมราชโองการของรัชกาลที่ 5” ในที่สุด

By admin

You missed